1. ชุดขาตั้งพื้นยกระดับสำเร็จรูป'BSP' (Pedestal)

ชุดอุปกรณ์ขาพื้นยก (Pedestal)

ขาพื้นยก หรือ Pedestal เป็นหนึ่งในชิ้นส่วนที่สำคัญที่สุดของระบบพื้นยกระดับสำเร็จรูป หรือ raised floor / access floor ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างรองรับน้ำหนักแนวดิ่ง (vertical loading) ที่สามารถปรับระดับความสูงได้และปรับระดับพื้นยก เพื่อรองรับแผ่นพื้นยกระดับ (raised floor system)

  • ความสูงของแท่นรอง สามารถปรับได้ตั้งแต่ 50 มม. ถึง 2,000 มม. ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ
  • การใช้ขาพื้่นยกที่มีความสูงต่างกัน ช่วยให้สามารถติดตั้งพื้นยกระดับเป็นลักษณะขั้นบันได หรือ step ได้
  • นอกจากนี้ ยังมีขาพื้นยกแบบพิเศษที่รองรับการติดตั้งพื้นเอียง โดยจะมีส่วนหัวที่เป็นระนาบเอียง (inclined plane heads)

 

ขาพื้นยกหรือ pedestal ทำหน้าที่หลักในการรับน้ำหนักแนวดิ่งของระบบพื้นยก (Raised Access Flooring System) ด้วยความสามารถในการปรับระดับและรับน้ำหนัก การเลือกใช้ขาพื้ืนยกที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรพิจารณาจาก

  • ความสูงที่ต้องการ: พื้นที่ใช้งานต้องการความสูงของขาพื้นยกเท่าใด
  • น้ำหนักที่จะวาง: พื้นที่จะวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากหรือไม่
  • สภาพแวดล้อม: สถานที่ติดตั้งเป็นพื้นที่โล่งแจ้ง หรือภายในอาคาร

และขาพื้นยกหรือ pedestal ยังสร้างช่องว่าง: ทำหน้าที่สร้างช่องว่างด้านล่างระหว่างพื้นจริงกับพื้นยกระดับ ช่องว่างนี้มีประโยชน์สำหรับ

  • การเดินสายไฟ สายสื่อสาร
  • งานระบบปรับอากาศ
  • งานท่อประปา

 

ขาพื้นยก (Pedestal) เป็นหัวใจสำคัญของระบบพื้นยกระดับ ช่วยให้ระบบพื้นยกระดับมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน สามารถปรับระดับพื้นให้ได้ตามต้องการ ช่วยสร้างช่องว่างด้านล่างสำหรับเดินระบบต่างๆ และ มีความแข็งแรงในการรับน้ำหนัก ดังนั้น การเลือกใช้ขาพื้นยกที่เหมาะสม จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบพื้นยกระดับโดยรวม

 

ประเภทของขาพื้นยก (Pedestal)

ระบบพื้นยกระดับมีหลายประเภท และแท่นรองที่ใช้ร่วมกับพื้นเหล่านั้นก็มีความแตกต่างกันด้วยประเภทของพื้นยกระดับ ส่งผลต่อประเภทของแท่นรอง โดยทั่วไปขาพื้นยกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้:

  1. ขาพื้นยกหัวอลูมิเนียมหรือหัวกากบาท (Alu Head Pedestal / Cross Head Pedestal):

    • ประกอบด้วย แผ่นฐาน (base plate), แกนเกลียว (threaded rod), น็อตหกเหลี่ยม (hexagon nut), แผ่นหัวปรับระดับ (adjustable die-cast aluminum head plate) และสกรูล็อคแผ่นพื้น (panel locking screws)
    • เหมาะสำหรับใช้กับพื้นยกระบบ Free Standing System หรือ Corner Locking System หรือระบบโครงสร้างพื้นยกแบบไม่มีคาน ซึ่งสามารถใช้ได้กับ Bare Raised Floor Panel หรือแผ่นพื้นยกแบบเปลือย ซึ่งสามารถเรียกได้อีกชื่อคือแผ่น OA Raised Floor Panel และแผ่น Anti-Static Raised Floor Panel ซึ่งเป็นระบบพื้นยกระดับแบบป้องกันไฟฟ้าสถิต (anti-static raised floor system) 
  2. ขาพื้นยกหัวแบน (Flat Head Pedestal):

    • ประกอบด้วย แผ่นฐาน (base plate), แกน (tube), แกนเกลียว (threaded rod), แผ่นหัว (head plate), และ น็อตหกเหลี่ยม (hexagon nut)
    • เหมาะสำหรับใช้พื้นยกระบบ Bolt Stringer System หรือระบบโครงสร้างพื้นยกแบบมีคาน ซึ่งสามารถให้ได้กับ Bare Raised Floor Panel และ Anti-Static Raised Floor Panel ซึ่งเป็นระบบพื้นยกระดับแบบป้องกันไฟฟ้าสถิต (anti-static raised floor system)
  3. แท่นรองหัวกลม (Round head pedestal):

    • ประกอบด้วย แผ่นฐาน (Base Plate), แกนเกลียว (Threaded Rod), น็อตหกเหลี่ยม (Hexagon Nut), แผ่นหัว (Head Plate) และ แผ่นรองพลาสติก PP ป้องกันไฟฟ้าสถิต (PP Conductive Plastic Gasket)
    • เหมาะสำหรับใช้กับระบบพื้นยกระดับแคลเซียมซัลเฟต (Calcium Sulphate Raised Floor System) และ ระบบพื้นยกระดับแกนไม้ (Wood Core Raised Floor System)

 

วัสดุของขาพื้นยก (Pedestal)

ขาพื้นยกหรือ Pedestal ผลิตจากเหล็กกล้าทนทานต่อการกัดกร่อน สำหรับการเคลือบผิวมีด้วยกันหลายรูปตามนี้:

1. การชุบซิงค์แบบกัลวาไนซ์ (Zinc Galvanizing):

  • กระบวนการ: เป็นกระบวนการทางไฟฟ้า (electroplating)
  • สีที่นิยม: สีเหลืองทอง, สีเทาเงิน และสีดำ
  • ข้อดี:
    • ง่ายต่อการผลิต
    • ราคาถูก
    • ป้องกันสนิมได้ดี
  • ข้อเสีย:
    • เหมาะสำหรับขาที่มีความสูงไม่เกิน 1 เมตร เนื่องจากการชุบแบบกัลวาไนซ์ ภาชนะสำหรับชุบจะมีความลึกจำกัด หากแท่นรองมีความสูงมาก อาจจะชุบได้ไม่ทั่วถึง
  • การใช้งาน: นิยมใช้กับขาพื้นยกระดับอย่างกว้างขวาง

2. การชุบแบบจุ่มร้อน (Hot-dip Galvanizing):

  • กระบวนการ: เป็นการนำขาพื้นยกไปชุบในสังกะสีเหลวร้อน
  • สี: สีเทาเงิน
  • ข้อดี:
    • สังกะสีเคลือบติดแน่น
    • ชั้นเคลือบมีความหนา
    • ป้องกันสนิมได้ดีเยี่ยม แม้ผ่านไปหลายปี
  • ข้อเสีย:
    • มีราคาแพง

3. การพ่นสีฝุ่นอีพ็อกซี่ (Powder Epoxy):

  • สีที่นิยม: สีดำ
  • การใช้งาน:
    • เหมาะสำหรับขาพื้นยกที่มีความสูงเกิน 1 เมตร เนื่องจากการชุบแบบกัลวาไนซ์ ภาชนะสำหรับชุบจะมีความลึกจำกัด
    • นิยมใช้แม้ความสูงของขาพื้นยกเกิน 2 เมตร

สรุป

การเลือกใช้ประเภทของการเคลือบป้องกันสนิม ขึ้นอยู่กับความต้องการ ดังนี้

  • หากต้องการ ราคาถูก ง่ายต่อการผลิต เลือก การชุบซิงค์แบบกัลวาไนซ์ เหมาะสำหรับแท่นรองที่มีความสูงไม่เกิน 1 เมตร
  • หากต้องการ ความแข็งแรง ทนทาน เลือกการชุบแบบจุ่มร้อน แต่มีราคาแพงกว่า
  • หากต้องการใช้กับขาพื้นยกที่มีความสูงมาก (เกิน 1 เมตร) เลือก การพ่นสีฝุ่นอีพ็อกซี่

อุปกรณ์ทั้งหมดจะมีส่วนหัวปรับระดับความสูง สำหรับปรับระดับพื้นยกให้ได้ระดับที่ต้องการ

  • สกรูน็อตล็อค ทำหน้าที่ล็อคหัวปรับระดับหลังจากปรับความสูงเสร็จ เพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของหัวปรับระดับ
  • แผ่นฐานรองรับ ผลิตจากเหล็กกล้ายึดติดกับแกนเกลียวด้านบนของฐานรองรับ ทำหน้าที่รับน้ำหนักแผ่นพื้นยกระดับให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง 

รายละเอียดของขาพื้นยกระดับ (Raised Floor Pedestal Specs)

ขนาดสำหรับส่วนประกอบต่างๆของขาพื้นยกระดับ

  • ขนาดเกลียวปลอก (Threaded Rod Tube Diameter):
    • ขนาดมาตรฐาน: M 16, M 18
    • ขนาดพิเศษ: M 20, M 22 (สามารถสั่งผลิตได้)
  • ขนาดแกนขาพื้นยก (Pedestal Tube Diameter):
    • ขนาดมาตรฐาน: 22 mm, 25 mm, 28 mm
    • ขนาดพิเศษ: 32 mm, 38 mm, 48 mm (สามารถสั่งผลิตได้)
  • ขนาดแผ่นฐานขาพื้นยก (Pedestal Bottom Plate):
    • ขนาดและความหนามาตรฐาน: 95x95x2.0 mm, 100x100x2.5 mm
    • ขนาดพิเศษ: 125x125x3.0 mm, 150x150x4.0 mm (สามารถสั่งผลิตได้)
  • ความสูงของขาพื้นยก (Height):
    • ความสูงมาตรฐาน: 50 - 2000 mm
    • หมายเหตุ: ในกรณีพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว(seismic) หรือ ต้องการใช้ความสูงมาก รับน้ำหนักมาก สามารถสั่งผลิตแท่นรองแบบพิเศษที่มีระบบเสริมความแข็งแรง (bracing systems) หรือขาพื้นยกรับน้ำหนักสูง (heavy duty pedestal)

 

 

1.1 ชุดขาตั้งพื้นยกระดับสำเร็จรูป "BSP" รุ่น Standard Pedestal (มาตรฐาน)

คุณสมบัติขาตั้งพื้นยกระดับสำเร็จรูป รุ่น "BSP" Standard Pedestal

 a  aดดดดด

ขาตั้งรับแผ่นพื้นยกระดับสำเร็จรูป'BSP'ชนิดมาตรฐานผลิตมาจากเหล็กรูปพรรณคุณภาพดีและมีการเคลือบผิวป้องกันการผุกร่อนหรือสนิมด้วยการชุบเคลือบด้วยกัลวาไนซ์ (Zinc Galvanizing) ตามความต้องการที่ตรงกับการใช้งาน ส่วนประกอบของชุดขาตั้งรับพื้นยกระดับสำเร็จรูปชนิดมาตรฐานประกอบด้วยชุดหัวแป้นแผ่นเหล็กรับแผ่นพื้นยก, ท่อเหล็กกลมขาตั้งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25มม., ชุดแป้นเหล็กเกลียวล๊อค, และแป้นแผ่นเหล็กฐานรองรับชุดขาตั้งขนาด 100x100มม ซึ่งยึดติดกับขาตั้งด้วยการเชื่อมโดยรอบ และชุดหัวแป้นเหล็กรับแผ่นพื้นยกสามารถเสียบเข้าไปในขาตั้งโดยสามารถปรับระดับความสูงได้ 1.5 - 2.5ซม ตามความเหมาะสม ขาตั้งประเภทนี้สามารถแบ่งเป็นลักษณะการติดตั้งได้ดังนี้

     1. แบบไม่มีคาน (Free Standing) ความสูงพื้นยกไม่ควรเกิน 30 cm. ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการรับน้ำหนักที่ดีในการรับน้ำหนัก

     2. แบบมีคาน ระบบ Bolted stringer คือมีคานรับทุกด้านของขอบแผ่น และยึดน็อตติดกับหัวเสาของชุดขาตั้งเพื่อเสริมการรับน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น

มาตรฐานการทดสอบของชุดขาตั้งพื้นยกระดับสำเร็จรูป รุ่น "BSP" Standard Pedestal

      

1. CIACA Standard for Raised Access Floor Product Tests (USA)

2. ASTM E-84 Standard for Flame Spread and Smoke Test (USA)

3. MOB Standard for Raised Access Floor Product Tests (UK)

4. SJ/T10796 Stardard for Rasied Access Floor Product Tests (China)

 

 

1.2 คุณสมบัติของชุดขาตั้งพื้นยกสำเร็จรูป รุ่น "BSP" OA Pedestal 

คุณสมบัติของชุดขาตั้งพื้นยกสำเร็จรูป รุ่น "BSP" OA Pedestal

 aaaaa

ขาตั้งรับแผ่นพื้นยกระดับสำเร็จรูป'BSP'ชนิด OA ผลิตมาจากเหล็กรูปพรรณคุณภาพดีและมีการเคลือบผิวป้องกันการผุกร่อนหรือสนิมด้วยการชุบเคลือบด้วยสังกะสี (Zinc Coating), กัลวาไนซ์ (Galvanized Coating) ตามความต้องการที่ตรงกับการใช้งาน ส่วนประกอบของชุดขาตั้งรับพื้นยกระดับสำเร็จรูปชนิด OA ประกอบด้วยชุดหัวแป้นแผ่นเหล็กรับแผ่นพื้นยก, ท่อเหล็กกลมขาตั้งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 22มม., ชุดแป้นเหล็กเกลียวล๊อค, และแป้นแผ่นเหล็กฐานรองรับชุดขาตั้งขนาด 100x100มม ซึ่งยึดติดกับขาตั้งด้วยการเชื่อมโดยรอบ และชุดหัวแป้นเหล็กรับแผ่นพื้นยกสามารถเสียบเข้าไปในขาตั้งโดยสามารถปรับระดับความสูงได้ 2.5ซมขาตั้งประเภทนี้สามารถแบ่งเป็นลักษณะการติดตั้งได้ดังนี้

     1. แบบไม่มีคาน (Free Standing) ความสูงพื้นยกไม่ควรเกิน 30 cm. ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการรับน้ำหนักที่ดีในการรับน้ำหนัก

     2. แบบมีคาน ระบบ Bolted stringer คือมีคานรับทุกด้านของขอบแผ่น และยึดน็อตติดกับหัวเสาของชุดขาตั้งเพื่อเสริมการรับน้ำหนัก ได้ดียิ่งขึ้น      

มาตรฐานการทดสอบของชุดขาตั้งพื้นยกระดับสำเร็จรูป รุ่น "BSP" OA Pedestal

     

1. CIACA Standard for Raised Access Floor Product Tests (USA)

2. ASTM E-84 Standard for Flame Spread and Smoke Test (USA)

3. MOB Standard for Raised Access Floor Product Tests (UK)

4. SJ/T10796 Stardard for Rasied Access Floor Product Tests (China)

 

 

1.3     ชุดขาตั้งรับแผ่นพื้นยกระดับสำเร็จรูป รุ่น "BSP"  Woodcore & Calcium Sulphate Pedestal (ไส้ไม้และแคลเซียมซัลเฟต)

คุณสมบัติของชุดขาตั้งพื้นยกระดับสำเร็จรูป รุ่น "BSP" Woodcore & Calcium Sulphate Pedestal 

 aaaaa

ขาตั้งรับแผ่นพื้นยกระดับสำเร็จรูป'BSP'ชนิดไส้ไม้ ผลิตมาจากเหล็กรูปพรรณคุณภาพดีและมีการเคลือบผิวป้องกันการผุกร่อนหรือสนิมด้วยการชุบเคลือบด้วยสังกะสี (Zinc Coating), กัลวาไนซ์ (Galvanized Coating) ตามความต้องการที่ตรงกับการใช้งาน ส่วนประกอบของชุดขาตั้งรับพื้นยกระดับสำเร็จรูปชนิดไส้ไม้ประกอบด้วยชุดหัวแป้นแผ่นเหล็กรับแผ่นพื้นยก, ท่อเหล็กกลมขาตั้งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 22มม., ชุดแป้นเหล็กเกลียวล๊อค, และแป้นแผ่นเหล็กฐานรองรับชุดขาตั้งขนาด 100x100มม ซึ่งยึดติดกับขาตั้งด้วยการเชื่อมโดยรอบ และชุดหัวแป้นเหล็กรับแผ่นพื้นยกสามารถเสียบเข้าไปในขาตั้งโดยสามารถปรับระดับความสูงได้ 2.5ซมขาตั้งประเภทนี้สามารถแบ่งเป็นลักษณะการติดตั้งได้ดังนี้

     1. แบบไม่มีคาน (Free Standing) ความสูงพื้นยกไม่ควรเกิน 30 cm. ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการรับน้ำหนักที่ดีในการรับน้ำหนัก

     2. แบบมีคาน ระบบ Bolted stringer คือมีคานรับทุกด้านของขอบแผ่น และยึดน็อตติดกับหัวเสาของชุดขาตั้งเพื่อเสริมการรับน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น      

มาตรฐานการทดสอบของชุดขาตั้งพื้นยกระดับสำเร็จรูป รุ่น "BSP" Woodcore & Calcium Sulphate Pedestal 

         

1. CIACA Standard for Raised Access Floor Product Tests (USA)

2. ASTM E-84 Standard for Flame Spread and Smoke Test (USA)

3. MOB Standard for Raised Access Floor Product Tests (UK)

4. SJ/T10796 Stardard for Rasied Access Floor Product Tests (China)

 

 

1.4    ชุดขาตั้งรับแผ่นพื้นยกระดับสำเร็จรูป รุ่น "BSP" Heavy Duty Pedestal (รับน้ำหนักสูง)

คุณสมบัติของชุดขาตั้งพื้นยกระดับสำเร็จรูปชนิดการรับน้ำหนักสูง

 agdfgfg a aaa

ชุดขาตั้งรับแผ่นพื้นยกระดับสำเร็จรูป'BSP'ชนิดการรับน้ำหนักสูงผลิตมาจากเหล็กรูปพรรณคุณภาพดีและมีการเคลือบผิวป้องกันการผุกร่อนหรือสนิมด้วยการชุบเคลือบด้วยสังกะสี (Zinc Coating), กัลวาไนซ์ (Galvanized Coating) ตามความต้องการที่ตรงกับการใช้งาน ส่วนประกอบของชุดขาตั้งรับพื้นยกระดับสำเร็จรูปชนิกการรับน้ำหนักสูงประกอบด้วยชุดหัวแป้นแผ่นเหล็กรับแผ่นพื้นยก, ท่อเหล็กกลมขาตั้งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 22มม, 28มม, และ 32มม, ชุดแป้นเหล็กเกลียวล๊อค, และแป้นแผ่นเหล็กฐานรองรับชุดขาตั้งขนาด 100x100มม ซึ่งยึดติดกับขาตั้งด้วยการเชื่อมโดยรอบ และชุดหัวแป้นเหล็กรับแผ่นพื้นยกสามารถเสียบเข้าไปในขาตั้งโดยสามารถปรับระดับความสูงได้2.5ซมขาตั้งประเภทนี้ลักษณะการติดตั้งควรจะต้องเป็นมีคานรับทุกด้านของขอบแผ่น และยึดน็อตติดกับหัวเสาของชุดขาตั้งเพื่อเสริมการรับน้ำหนักที่มั่นคงและมีเสถียรภาพเนื่องจากการใช้งานจะต้องรับภาระการแบกรับที่สูงและความสูงมากกว่ารุ่นทั่วๆไป โดยทั่วไปการใช้งานชุดขาตั้งประเภทนี้จะเริ่มต้นที่ความสูง 0.5 มขึ้นไป

 มาตรฐานการทดสอบของชุดขาตั้งพื้นยกระดับสำเร็จรูป "BSP" Heavy Duty Pedestal

         

1. CIACA Standard for Raised Access Floor Product Tests (USA)

2. ASTM E-84 Standard for Flame Spread and Smoke Test (USA)

3. MOB Standard for Raised Access Floor Product Tests (UK)

4. SJ/T10796 Stardard for Rasied Access Floor Product Tests (China)

 

 

1.5 ชุดขาตั้งรับแผ่นพื้นยกระดับอลูมิเนียมสำเร็จรูป รุ่น "BSP" Aluminium Pedestal (ขาพื้นยกอลูมิเนียม)

คุณสมบัติของชุดขาตั้งพื้นยกระดับสำเร็จรูป รุ่น "BSP" Aluminium Pedestal

  a aaaaa

ชุดขาตั้งรับแผ่นพื้นยกระดับอลูมิเนียมสำเร็จรูป'BSP' มีให้เลือกทั้งแบบขาตั้งเหล็กและมีการเคลือบผิวป้องกันการผุกร่อนหรือสนิมด้วยการชุบเคลือบด้วยสังกะสี (Zinc Coating), ), กัลวาไนซ์ (Galvanized Coating)  และแบบอลูมิเนียมซึ่งผลิตมาจากอลูมิเนียมคุณภาพดีซึ่งทำให้มีความแข็งแรงเป็นพิเศษตามความต้องการที่ตรงกับการใช้งาน ส่วนประกอบของชุดขาตั้งอลูมิเนียมนั้นเหมือนกับชุดขาตั้งรับพื้นยกชนิดอื่นๆ โดยประกอบด้วยชุดหัวแป้นแผ่นอลูมิเนียมรับแผ่นพื้นยก, ขาตั้งท่ออลูมิเนียมกลม, ชุดแป้นอลูมิเนียมกลียวล๊อค, และแป้นแผ่นอลูมิเนียมฐานรองรับชุดขาตั้งขนาด 100x100มม. ซึ่งยึดติดกับขาตั้งด้วยการเชื่อมโดยรอบ และชุดหัวแป้นอลูมิเนียมรับแผ่นพื้นยกสามารถเสียบเข้าไปในขาตั้งโดยสามารถปรับระดับความสูงได้ 2.5ซม โดยทั่วไปการใช้งานชุดขาตั้งอลูมิเนียมจะเริ่มต้นที่ความสูง 20ซม ขึ้นไป ขาตั้งประเภทนี้สามารถแบ่งเป็นลักษณะการติดตั้งได้ดังนี้ 

             1. แบบไม่มีคาน (Free Standing) ความสูงพื้นยกไม่ควรเกิน 30 ซม. ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการรับน้ำหนักที่ดีในการรับน้ำหนัก

              2. แบบมีคาน ระบบ Bolted stringer คือมีคานรับทุกด้านของขอบแผ่น และยึดน็อตติดกับหัวเสาของชุดขาตั้งเพื่อเสริมการรับน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น

มาตรฐานการทดสอบของชุดขาตั้งพื้นยกระดับสำเร็จรูป รุ่น "BSP" Heavy Duty Pedestal

         

1. CIACA Standard for Raised Access Floor Product Tests (USA)

2. ASTM E-84 Standard for Flame Spread and Smoke Test (USA)

3. MOB Standard for Raised Access Floor Product Tests (UK)

4. SJ/T10796 Stardard for Rasied Access Floor Product Tests (China)

 

  KEYWORDS: แผ่นพื้นยก ขาพื้นยก ขารับพื้นยก ขารับแผ่นพื้นยก ขาตั้งพื้นยก ขาตั้งรับพื้นยก ขาตั้งรับแผ่นพื้นยก ขาตั้งรับพื้นยก แผ่นพื้นยก ขาตั้งพื้นยก พื้นยก, access floor,raised floor,pedestal ขารับแผ่นพื้นยก ขาตั้งพื้นยกระดับ พื้นยกสำเร็จรูป พื้นยกระดับ พื้นยก, access floor, raised floor, แผ่นพื้นยก พื้นยกราคา พื้นยกเหล็ก แผ่นพื้นยกเหล็ก พื้นยกสำเร็จรูปเหล็ก แผ่นพื้นยกระดับสำเร็จรูป พื้นป้องกันไฟฟ้าสถิต ติดตั้งพื้นยก ติดตั้งแผ่นพื้นยก ซื้อพื้นยก จำหน่ายพื้นยก ทำพื้นยก ขายพื้นยก พื้นยกสำเร็จรูป พื้นยกระดับ พื้นยกระดับสำเร็จรูป ขายพื้นยก จำหน่ายพื้นยก แผ่นพื้นยก แผ่นพื้นยกสำเร็จรูป แผ่นพื้นยกระดับ 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 278,479