พื้นยกป้องกันไฟฟ้าสถิตย์: การทดสอบมาตรฐาน CISCA ทั้ง 12 รายการเพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด
พื้นยกป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในสภาพแวดล้อมทางเทคนิคสูง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ หรือ ศูนย์ข้อมูล ที่ต้องการความทนทานและประสิทธิภาพการจัดการสายไฟที่มีความซับซ้อน การเลือกใช้พื้นยกที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน CISCA เป็นการรับรองว่าโครงสร้างพื้นยก raised floor จะมีความปลอดภัยสูงสุดและสามารถใช้งานได้ในระยะยาว
มาตรฐานการทดสอบพื้นยกป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ตาม CISCA
CISCA (Ceilings & Interior Systems Construction Association) ได้กำหนดมาตรฐานการทดสอบทั้งหมด 12 รายการ เพื่อให้แน่ใจว่าพื้นยก access floor ที่ใช้ในพื้นที่ที่มีการใช้งานสูงนั้นมีความแข็งแรงและความทนทานในทุกมิติ ตั้งแต่การรองรับน้ำหนักไปจนถึงการป้องกันไฟและการป้องกันเสียง
ตามปกติการทดสอบจะยึดจากการใช้งานที่เกิดขึ้นจริงและมาตรฐานที่สื่อไปถึงความแข็งแรงของวัสดุเป็นสำคัญ ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบหลัก คือ
1. Static Loads Test : คือการทดสอบวัสดุที่ใช้ประเมินความแข็งแรง ความมั่นคง และประสิทธิภาพของวัสดุภายใต้ภาระที่คงที่ ซึ่งประกอบด้วย:
- การทดสอบน้ำหนักแบบน้ำหนักเเบบต่อจุดบนแผ่นพื้นยก (Concentrated Load Test - Section 1)
- การรับน้ำหนักสูงสุดบนแผ่นพื้นยก access floor (Ultimate Load Test - Section 2)
- การทดสอบภาระน้ำหนักแบบสม่ำเสมอของแผ่นพื้นยก raised floor (Uniform Load Test - Section 7)
2. Dynamic Loads Test : คือการทดสอบที่ใช้เพื่อประเมินความสามารถในการรับน้ำหนักของวัสดุ เมื่อถูกกระทำด้วยแรงที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาหรือแรงที่ไม่ได้คงที่ ซึ่งประกอบด้วย:
- การทดสอบน้ำหนักแบบเคลื่อนที่บนแผ่น raised floor (Rolling Load Test - Section 3)
- การทดสอบแรงกระแทกจากการตกบนแผ่น access floor (Drop Impact Load Test - Section 8)
ส่วนการทดสอบอื่นๆ เช่น การทดสอบการรับแรงของขาพื้นยก access floor, การทดสอบการารรับแรงของขาพื้นยก raised floor เป็นต้น จะเป็นได้ตามความต้องการของแต่ละโครงการ
มาตรฐานการทดสอบและข้อกำหนด:
- การทดสอบน้ำหนักบรรทุกแบบจุดศูนย์ถ่วง น้ำหนักบรรทุกสูงสุด และการทดสอบคุณสมบัติการทำงาน:
พื้นยกป้องกันไฟฟ้าสถิตย์คุณภาพสูงจำเป็นต้องผ่านการทดสอบที่ประเมินการรับน้ำหนัก ซึ่งรวมถึงการทดสอบน้ำหนักแบบจุดศูนย์ถ่วง น้ำหนักบรรทุกสูงสุด และการทดสอบคุณสมบัติการทำงานของพื้นยกที่มีคุณภาพดี พื้นยกที่ผ่านการทดสอบเหล่านี้จะได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
- ข้อกำหนดด้านการป้องกันสิ่งแวดล้อม (Green Certification):
การป้องกันหรืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในคุณภาพที่สำคัญของสินค้าในปัจจุบัน พื้นยกป้องกันไฟฟ้าสถิตย์คุณภาพสูงต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของการป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อสุขภาพของผู้ใช้และสังคม
-
คุณสมบัติการกันความชื้น:
พื้นยกป้องกันไฟฟ้าสถิตย์คุณภาพสูงต้องมีคุณสมบัติกันความชื้นที่ดี โดยทั่วไปการวัดความสามารถในการดูดซึมน้ำจะใช้ค่าสัดส่วนการบวมเมื่อดูดซึมน้ำ หากค่าสัดส่วนการบวมมีค่าสูงแสดงว่าความสามารถในการกันความชื้นไม่ดี พื้นยกคุณภาพสูงจะต้องมีค่าสัดส่วนการบวมไม่เกิน 10%
- ความทนทานต่อการสึกหรอ: ความทนทานต่อการสึกหรอเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของพื้นยก ซึ่งส่งผลต่ออายุการใช้งานของพื้นยก คุณสมบัติความทนทานต่อการสึกหรอจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดการทดสอบ CISCA ทั้ง 12 รายการ
การทดสอบตามมาตรฐาน CISCA ครอบคลุมทั้งความแข็งแรงของโครงสร้างพื้น raised floor และขาตั้งพื้นยก รวมถึงความสามารถในการป้องกันการแพร่กระจายของไฟและการรั่วของอากาศ มาดูรายละเอียดของการทดสอบแต่ละรายการกัน
การทดสอบความแข็งแรงและการรองรับน้ำหนัก
- การทดสอบน้ำหนักแบบน้ำหนักเเบบต่อจุดบนแผ่นพื้นยก (Concentrated Load Test - Section 1)
การทดสอบนี้จะวัดการโก่งงอหรือ deflection ของพื้นยกเมื่อรับน้ำหนักสูงสุด เปรียบเทียบกับการสถานะการณ์จริงคือกรณีมีตู้หรือโต๊ะวางอยู่บนแผ่นพืั้นยก ซึ่งแผ่นพื้น raised floor ต้องทนต่อการรับน้ำหนักที่ได้ระบุไว้ของแต่ละรุ่น (ปัจจุบันที่แผ่นพื้นยกที่ใช้ในประเทศไทยคือ FS700, FS800, FS1000, FS1250 สำหรับรุ่นที่สูงกว่าคือ FS1500 และ FS2000 จะมีการใช้น้อยมากเนื่องจากราคาค่อนข้างสูงมาก) โดยไม่เกิดการโค้งงอเกิน 20 มม และการคืนตัวไม่เกิน 0.25 มม
- การทดสอบน้ำหนักสูงสุดบนแผ่นพื้นยก (Ultimate Load Test - Section 2)
การทดสอบพื้นยกว่าต้องสามารถรองรับน้ำหนักได้ 3 เท่าของน้ำหนักที่กำหนด เพื่อรับรองว่าโครงสร้างจะไม่เสียหายจนเสียรูปทรงหรือพังทลายเมื่อรับน้ำหนักสูงสุด
การทดสอบความทนทานต่อการเคลื่อนที่และแรงกระแทก
- การทดสอบน้ำหนักแบบเคลื่อนที่บนแผ่นพื้นยก (Rolling Load Test - Section 3)
การทดสอบความทนทานของพื้นยกเมื่อต้องรับน้ำหนักที่เคลื่อนที่ เช่น รถเข็นหรือเก้าอี้เลื่อน การโค้งงอไม่ควรเกิน 20 มม หลังการทดสอบ
- การทดสอบแรงกระแทกจากการตกบนแผ่นพื้นยก (Drop Impact Load Test - Section 8)
การทดสอบพื้นยก access floor ต้องทนต่อแรงกระแทกจากวัตถุที่ตกจากความสูง 900 มม โดยไม่มีการเสียหายหรือโค้งงอเกินไป
การทดสอบความมั่นคงของขาตั้งและการทนทานของคานรองรับ
- การทดสอบรับน้ำหนักของคานพื้นยก (Stringer Load Test - Section 4)
คาน raised floor รองรับต้องทนต่อแรงกดต่อการรับน้ำหนักที่ได้ระบุไว้ของแต่ละรุ่น
- การทดสอบแรงกดตามแนวแกนขาตั้งพื้นยก (Pedestal Axial Load Test - Section 5)
ขาตั้ง access floor ต้องทนแรงกดในแนวดิ่งต่อการรับน้ำหนักที่ได้ระบุไว้ของแต่ละรุ่น เพื่อให้มั่นใจว่าพื้นยกจะมั่นคง
การทดสอบแรงต้านทานแรงด้านข้างขาตั้งพื้นยกและการตกของแผ่นพื้นยก
- การทดสอบแรงต้านทานด้านข้าง (Horizontal Load) ของขาตั้งพื้นยก (Pedestal Overturning Moment Test - Section 6)
ขาตั้งพื้นยกต้องทนต่อแรงจากด้านข้าง 1,000 นิ้วปอนด์ (113 Nm) เพื่อรับรองว่าขาตั้งจะไม่โค่นล้มแม้ภายใต้แรงจากด้านข้างตามข้อกำหนด
- การทดสอบการตกของแผ่นพื้นยก (Panel Drop Test - Section 9)
แผ่นพื้นยกต้องสามารถรองรับแรงกระแทกหลังจากตกจากความสูง 36 นิ้ว โดยไม่เสียหาย เพื่อรับรองความทนทานของ raised floor panel ในสภาพการใช้งานที่ท้าทาย
การทดสอบความปลอดภัยจากไฟและการรั่วของอากาศ
- การทดสอบความปลอดภัยจากไฟของแผ่นพื้นยก (Fire Performance Test - Section 10)
แผ่นพื้นยกต้องผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน Class A Flame Spread เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไฟและควันในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
- การทดสอบการรั่วของอากาศของระบบพื้นยก (Air Leakage Test - Section 11)
ทดสอบความสามารถในการป้องกันการรั่วของอากาศจากใต้พื้นเข้าสู่พื้นที่ใช้งาน พื้นยกต้องสามารถป้องกันการรั่วของอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทดสอบการป้องกันเสียงและการกระจายน้ำหนัก
- การทดสอบการส่งผ่านเสียงของแผ่นพื้นยก (Sound Transmission Test - Section 12)
แผ่นพื้นยกต้องผ่านการทดสอบความสามารถในการป้องกันเสียงไม่ให้ส่งผ่านระหว่างห้องต่าง ๆ เพื่อสร้างความเงียบสงบในพื้นที่ทำงาน
- การทดสอบน้ำหนักกระจายบนแผ่นพื้นยก (Uniform Load Test - Section 7)
แผ่นพื้นยกต้องสามารถรองรับน้ำหนักที่กระจายอย่างสม่ำเสมอได้ ต่อการรับน้ำหนักที่ได้ระบุไว้ของแต่ละรุ่น โดยไม่เกิดการโค้งงอเกิน 0.25 มม
สรุปการทดสอบระบบพื้นยก raised / access floor ของตามมาตรฐาน CISCA
- การรับน้ำหนักแบบจุดบนแผ่นพื้นยก (Concentrated Load Test - Section 1): การทดสอบ: วัดการโก่งตัวและการเสียรูปถาวรภายใต้ภาระน้ำหนัก
มาตรฐาน: แผ่นพื้นยกควรทนรับน้ำหนักต่อการรับน้ำหนักที่ได้ระบุไว้ของแต่ละรุ่น โดยมีการโก่งตัวสูงสุดที่ 20มม และการเสียรูปถาวรที่ 0.010 นิ้ว
- การรับน้ำหนักสูงสุดบนแผ่น raised floor (Ultimate Load Test - Section 2): การทดสอบ: วัดน้ำหนักสูงสุดก่อนที่แผ่น raised floor จะล้มเหลว
มาตรฐาน: พื้นต้องทนรับน้ำหนักได้อย่างน้อยสามเท่าของภาระจุดรวมโดยไม่เกิดการล้มเหลวทางโครงสร้าง
- การรับน้ำหนักจากน้ำหนักแบบเคลื่อนที่แผ่น raised floor (Rolling Load Test - Section 3): การทดสอบ: ประเมินความสามารถของแผ่น raised floor ในการรับน้ำหนักจากการขนย้าย เช่น รถเข็น
มาตรฐาน: การเสียรูปไม่ควรเกิน 20 มม ภายใต้ภาระการกลิ้ง
- การทดสอบการรับน้ำหนักของคานพื้นยก (Stringer Load Testing - Section 4): การทดสอบ: วัดความสามารถในการรับน้ำหนักของสตริงเกอร์ (คานพื้นยก)
มาตรฐาน: สตริงเกอร์ควรรองรับน้ำหนักได้ ต่อการรับน้ำหนักที่ได้ระบุไว้ของแต่ละรุ่นที่กึ่งกลาง และมีการเสียรูปถาวรไม่เกิน 0.25 มม
- การทดสอบภาระตามแกนของขาพื้นยก (Pedestal Axial Load Test - Section 5): การทดสอบ: วัดน้ำหนักที่ขาพืนยกสามารถรับได้ในแนวตั้ง
มาตรฐาน: ขาพื้นยกต้องรับน้ำหนักได้ต่อการรับน้ำหนักที่ได้ระบุไว้ของแต่ละรุ่น ในภาระตามแกนต่อขาพื้นยก
- การทดสอบแรงโมเมนต์ในการล้มของขาพื้นยก (Pedestal Overturning Moment Test - Section 6): การทดสอบ: ตรวจสอบความเสถียรของขาพื้นยกต่อการล้มเมื่อมี horizontal force มากระทำ
มาตรฐาน: ขา raised floor ต้องทนต่อแรงโมเมนต์ในการล้มที่ 1,000 นิ้ว-ปอนด์ (113 Nm) เมื่อยึดกับพื้นแข็ง
- การทดสอบภาระน้ำหนักแบบสม่ำเสมอของแผ่นพื้นยก (Uniform Load Test - Section 7): การทดสอบ: ประเมินความสามารถของระบบแผ่นพื้นยกในการรับน้ำหนักแบบสม่ำเสมอบนพื้นผิวทั้งหมด
มาตรฐาน: แผ่นพื้ืนยกต้องรับน้ำหนักได้ต่อการรับน้ำหนักที่ได้ระบุไว้ของแต่ละรุ่น โดยมีการเสียรูปถาวรไม่เกิน 0.25 มม หลังจากยกภาระออก
- การทดสอบภาระน้ำหนักจากการกระแทกบนแผ่น raised floor (Drop Impact Load Test - Section 8): การทดสอบ: จำลองผลกระทบจากวัตถุที่ตกลงมาบนแผิวบนแผ่น raised floor
มาตรฐาน: แผ่น raised floor ต้องทนทานต่อการกระแทกจากน้ำหนัก 150 lbf (68 กก.) ที่ตกจากความสูง 36 นิ้ว (914 มม.) โดยไม่เกิดความเสียหาย
- การทดสอบการตกของแผ่นพื้นยก (Panel Drop Test - Section 9): การทดสอบ: ประเมินความสมบูรณ์ของโครงสร้างของแผ่นพื้นยกหลังจากถูกทิ้ง
มาตรฐาน: แผ่นพื้นยกต้องคงความสมบูรณ์หลังจากตกจากความสูง 36 นิ้ว
- การทดสอบการป้องกันไฟของแผ่น access floor (Fire Performance - Section 10): การทดสอบ: วัดการกระจายของเปลวไฟและควัน
มาตรฐาน: ระบบแผ่น access floor ต้องผ่านข้อกำหนด Class A Flame Spread ตามมาตรฐาน ASTM-E84-1998
- การทดสอบการรั่วไหลของอากาศของ raised floor system (Air Leakage Test - Section 11): การทดสอบ: วัดความแน่นของอากาศในระบบ
มาตรฐาน: raised floor system ต้องป้องกันการรั่วไหลของอากาศที่ไม่พึงประสงค์จากช่องว่างใต้พื้นถึงพื้นที่ที่ใช้งานอยู่
- การทดสอบการส่งผ่านเสียงของแผ่นพื้นยก (Sound Transmission - Section 12): การทดสอบ: ประเมินความสามารถของแผ่นพื้นยกในการป้องกันเสียง
มาตรฐาน: วัดความสามารถของระบบแผ่นพื้นยกในการป้องกันการส่งผ่านเสียงระหว่างห้อง
สรุปมาตรฐานการทดสอบพื้นยก Raised Floor ตามมาตรฐานกัน bspfloors:
การทดสอบตามมาตรฐาน CISCA ทั้ง 12 รายการครอบคลุมทุกแง่มุมของการทดสอบพื้นยก ตั้งแต่การรองรับน้ำหนัก การทนทานต่อแรงกระแทก ไปจนถึงการป้องกันไฟและเสียง บริษัท B S P (2512) พร้อมให้บริการพื้นยกป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานนี้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณได้รับจะมีความทนทานและปลอดภัยสูงสุดสำหรับการใช้งานในห้องคอมพิวเตอร์และศูนย์ข้อมูล
รายการงาน CISCA Standard Test ที่เกี่ยวข้อง:
- พื้นยกป้องกันไฟฟ้าสถิตย์มาตรฐาน CISCA
- พื้นยกสำหรับห้องคอมพิวเตอร์ที่ผ่านการทดสอบ CISCA
- มาตรฐานการทดสอบพื้นยก 12 รายการ
- การทดสอบน้ำหนักและการทนทานของพื้นยก
- การทดสอบแรงกระแทกพื้นยกสำหรับศูนย์ข้อมูล
- พื้นยกป้องกันไฟและเสียงสำหรับศูนย์ข้อมูล
- พื้นยกทนทานต่อการเคลื่อนที่และการจัดการสายไฟ
|