การออกแบบ Shared Load Structure สำหรับห้อง Server และ Data Center

การออกแบบ Shared Load Structure (โครงสร้างกระจายน้ำหนัก) ของ Raised Floor สำหรับพื้นอาคารสำหรับ Data Center (ศูนย์ข้อมูล) และห้อง Server(เซิร์ฟเวอร์)

 

1. ทำไมต้องคำนึงถึงโครงสร้างพื้นอาคารก่อนติดตั้งอุปกรณ์ไอที?

เวลาสร้างอาคาร วิศวกรต้องคำนึงถึงความแข็งแรงและความปลอดภัยของโครงสร้าง เพราะทุกจุดของอาคารจะต้องรับน้ำหนักจากผู้ใช้งานและอุปกรณ์ที่ติดตั้ง รวมถึงห้องเซิร์ฟเวอร์ที่มีอุปกรณ์หนักๆ อย่าง ตู้เซิร์ฟเวอร์ (Server Rack), เครื่องสำรองไฟ (UPS), และระบบอื่นๆ

โดยปกติ พื้นที่สำนักงานทั่วไปถูกออกแบบให้รับน้ำหนักได้ประมาณ 250-300 กิโลกรัมต่อตารางเมตร แต่ถ้ามีอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากเกินกว่านั้น เช่น ตู้เซิร์ฟเวอร์ที่อาจมีน้ำหนักมากถึง 800 กิโลกรัมต่อจุด จำเป็นต้องเสริมโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า "ฐานกระจายน้ำหนัก (Shared Load Structure)" เพื่อช่วยกระจายแรงกดทับ ไม่ให้พื้นอาคารเสียหาย

 

2. ทำไมต้องใช้ "พื้นยก" (Raised Floor) ในห้องเซิร์ฟเวอร์?

พื้นยก (Raised Floor) คือโครงสร้างพื้นพิเศษที่ช่วยรองรับน้ำหนักของอุปกรณ์ไอที และยังช่วยให้สามารถเดินสายไฟ สายสัญญาณ และงานระบบอื่นๆใต้พื้นได้อย่างเป็นระเบียบ

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกพื้นยกสำหรับศูนย์ข้อมูล

  • รับน้ำหนักเป็นจุด (Concentrated Load): ต้องรองรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า1,000 ปอนด์ (450 กิโลกรัม) ต่อตารางฟุต
  • รองรับน้ำหนักแบบ Rolling Load: ต้องสามารถรับแรงกดจากอุปกรณ์ที่มีล้อ เช่น รถเข็นเซิร์ฟเวอร์
  • โครงสร้างต้องแข็งแรง:แนะนำให้เลือกBolted Stringer System (พื้นยกที่มีโครงคานรองรับ 4 ด้าน) เพื่อเพิ่มความมั่นคง

 

3. ถ้าพื้นไม่เรียบ จะเกิดอะไรขึ้น?

หากพื้นอาคารไม่สม่ำเสมอ อาจทำให้โครงสร้างฐานกระจายน้ำหนัก ไม่ได้ระดับ ซึ่งส่งผลให้แรงกดทับกระจายไม่ทั่วถึง จุดใดจุดหนึ่งอาจต้องรับน้ำหนักมากเกินไป เสี่ยงต่อ การแตกร้าวหรือทรุดตัวของพื้น

โครงสร้าง shared load ต้องการการกระจายน้ำหนักที่เท่ากันทั่วพื้น หากไม่ปรับระดับพื้นให้ได้มาตรฐาน น้ำหนักจะถูกส่งผ่านไปในลักษณะ "คาน" ซึ่งโครงสร้างไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับแรงในลักษณะนี้

มาตรฐานวิศวกรรมกำหนดให้ความแตกต่างของระดับพื้นต้องไม่เกิน ±5 มิลลิเมตร เพื่อให้แรงกดทับและน้ำหนักอุปกรณ์กระจายได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ พื้นไม่เรียบยังส่งผลต่อระบบทำความเย็น เนื่องจากอากาศอาจไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้ระบบระบายความร้อนของห้องเซิร์ฟเวอร์ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ

การสำรวจพื้นที่สำหรับพื้นยก raised floor และ shared load พื้นที่ปรับระดับสำหรับงานฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure การปรับระดับพื้นที่ shared load structure
  • การสำรวจหน้างานจะต้องตรวจสอบระดับความสูงและต่ำของพื้นอาคาร
  • พื้นอาคารที่ไม่ได้ระดับและเป็นหลุม จะต้องแก้ไขด้วย Leveling Cement
  • การทำระดับด้วย Leveling Cement ใช้ปูนประเภท High Strength Cement 

 

4. ขั้นตอนการออกแบบฐานกระจายน้ำหนัก (Shared Load Structure)

เพื่อให้ห้องเซิร์ฟเวอร์สามารถรองรับน้ำหนักอุปกรณ์ได้อย่างปลอดภัย ควรดำเนินการดังนี้

4.1) ตรวจสอบโครงสร้างพื้นเดิม

  • ขอข้อมูลโครงสร้างจากผู้ดูแลอาคาร เพื่อขอสำเนาแบบโครงสร้าง รายละเอียดต่างๆของพื้นที่ รายละเอียดของคานและพื้นอาคารโดยรอบพื้นที่ที่จะทำการติดตั้ง ในบางครั้งหากพื้นที่ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับแนวเสาหรือคาน วิศวกรโยธาอาจจะทำการออกแบบโดยถ่ายน้ำหนักไปยังเสาหรือคานนั้นๆ ก็สามารถกระทำได้
  • ตรวจสอบว่าพื้นสามารถรองรับน้ำหนักเพิ่มเติมได้หรือไม่

4.2) สำรวจพื้นที่ติดตั้ง

  • ประเมินน้ำหนักของอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้ง ข้อมูลน้ำหนักและขนาดอุปกรณ์อื่นที่วางอยู่เดิมในบริเวณเดียวกัน, แนวทางการจัดทำฐานหรือโครงสร้างกระจายน้ำหนัก (Shared Load Structure) สามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งข้อมูลที่ได้จาการสำรวจพื้นที่จะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจ และออกแบบฐานหรือโครงสร้างกระจายน้ำหนักได้อย่างถูกต้อง หากเป็นไปได้การจัดวางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในห้อง Server หรือ Data Center (ศูนย์สารสนเทศใหม่) ควรจะทำการออกแบบและจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ โดยผ่านคำแนะนำจากวิศวกรโยธาตั้งแต่แรก เพื่อลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลัง
  • ตรวจสอบตำแหน่งคาน เสา และโครงสร้างอาคารที่เกี่ยวข้อง
ตำแหน่งตู้ server ที่วางอยู่บนพื้นยก raised floor  
  • ตำแหน่งของตู้ server หรืออุปกรณ์ต่างๆที่ต้องวางบนพื้นยกจำต้องกำหนดก่อนเพื่อให้วิศวกรผู้ทำการออกแบบและรับรองได้พิจารณาอย่างละเอียด
 

 

4.3) คำนวณน้ำหนักที่ต้องรองรับ

  • คำนวณDead Load (น้ำหนักอุปกรณ์ เช่น Rack, Raised Floor, ผนัง, และโครงสร้างเหล็ก)
  • คำนวณLive Load (น้ำหนักที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง เช่น คนที่เข้ามาทำงานในห้อง)
  • เปรียบเทียบกับน้ำหนักที่พื้นสามารถรองรับได้ (เช่น 300 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)

4.4) ออกแบบโครงสร้างเหล็กกระจายน้ำหนัก (Shared Load Structure)

  • กรณีเลือกใช้โครงสร้างเหล็กฐานกระจายน้ำหนัก ควรเป็นเหล็กประเภท Hot Roll เช่น I-Beam, C-Chanal เป็นต้น ซึ่งจะมีค่า Stiffness, Toughness และ Ductility ที่ดีและสมบูรณ์และมีความแข็งแรงสูงกว่าเหล็กประเภท Cold Roll 

  • วางเหล็กโครงสร้างในระยะที่เหมาะสมให้สอดคล้องกันระยะของงานพื้นยก (Raised Floor) เช่น ทุก 0.60 เมตร

4.5) ติดตั้งโครงสร้างฐานกระจายน้ำหนัก

  • ติดตั้งเหล็ก C-Channel ให้ได้ระดับและแน่นหนา
  • ตรวจสอบไม่ให้สะเก็ดไฟจากการเชื่อมกระเด็นไปโดนอุปกรณ์หรือสายไฟ

4.6) ตรวจสอบโดยวิศวกรก่อนใช้งาน

  • วิศวกรโยธาต้องตรวจสอบว่าการติดตั้งเป็นไปตามแบบและสามารถรองรับน้ำหนักได้จริง
  • เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้วจึงสามารถติดตั้งอุปกรณ์บนพื้นยกได้

 

5. ตัวอย่างการคำนวณการรับน้ำหนัก

  • การจัดวาง Rack: Rack หรือตู้ Server ได้ถูกจัดวางกระจายเป็นแต่ละห้อง ซึ่งเป็นไปตามการอนุมัติของวิศวกร

  • Request ของอาคาร: อาคารขอให้มีรายการคำนวณมายืนยันว่าพื้นที่ๆใช้เพียงพอสำหรับรับน้ำหนักต่างๆ ที่ระบุไว้ โดยใช้การพื้นที่ Shared Load ต้องไม่เกินการรับแรงของพื้นอาคารที่มี Limit (Allowable Live Load) (สมมุติที่ 300 kg/m²)

  • การคำนวณน้ำหนัก: ตามเอกสารได้สรุปว่า Dead Load จะมี 3 วัสดุ คือ Rack, Raised Floor, ผนัง, และเหล็กสำหรับ Shared Load โดยการพิจารณาจะดูที่ DL อย่างเดียว LL จะไม่ได้นำมาคิดตามเหตุผลที่ได้อธิบายข้างต้น

  • การติดตั้ง: การติดตั้งจะวาง Shared Load Steel บนพื้นอาคาร และจะวางพื้นยกบนโครงเหล็ก โดยตู้ server หรือ Rack จะวางอยู่บนพื้นยก

  • การคำนวณใช้การตรวจสอบคือ (น้ำหนักจริงของอุปกรณ์ + น้ำหนักเหล็ก C-Channel + Live Load + MISC) / พื้นที่ฐานกระจายน้ำหนัก = น้ำหนักเฉลี่ยต่อตารางเมตร) และนำไปเปรียบเทียบกับการรับน้ำหนักของพื้นอาคารที่ยอมรับได้ ซึ่งจะต้องมีค่าที่น้อยกว่า

5.1) ข้อมูลสำคัญ

  • โครงสร้างฐานใช้เหล็กC-Channel ขนาด 100x50x5x7.5mm โดยเว้นระยะ 0.60 เมตร ในแนวนอนและแนวตั้ง
  • พื้นที่รวมสำหรับ Shared Load อยู่ที่ 526.7 ตารางเมตร (ตัวเลขสมมุติ)
  • ค่ากำหนดน้ำหนักบรรทุกของพื้นอาคารอยู่ที่ 300 kg/m²

5.2) รายละเอียดของอุปกรณ์และน้ำหนักต่างๆ

สมมติว่าศูนย์ข้อมูลแห่งหนึ่งมีอุปกรณ์ดังนี้:

รายการอุปกรณ์

จำนวน

น้ำหนักต่อชิ้น (กก.)

น้ำหนักรวม (กก.)

ตู้เซิร์ฟเวอร์ (Rack)

59

800

47,200

พื้นยก (BSP FS1250)

-

60 กก./ตร.ม.

31,602

ผนังห้อง (รวมโครงสร้าง)

-

58 กก./ตร.ม.

30,548

โครงสร้างเหล็ก (C-Channel)

-

50 กก./ตร.ม.

26,335

น้ำหนักรวมทั้งหมด

-

-

135,685 กก.

 

5.3) พื้นที่ที่ใช้งาน และคำนวณน้ำหนักต่อ ตร.ม.

  • พื้นที่รวมของShared Load Structure = 526.7 ตร.ม.
  • นำน้ำหนักรวมทั้งหมด (135,685 กก.)หารด้วยพื้นที่
   

 

5.4) เปรียบเทียบกับค่าการรับน้ำหนักของพื้นอาคาร

  • ค่าการรับน้ำหนักของพื้นอาคาร (Allowable Live Load) = 300 กก./ตร.ม.
  • น้ำหนักรวมที่กระจายอยู่บนShared Load = 297 กก./ตร.ม.
  • อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยเพราะน้ำหนักที่คำนวณได้ไม่เกิน300 กก./ตร.ม.

 

6. ข้อสรุป: การติดตั้งตู้เซิร์ฟเวอร์ให้ปลอดภัยต้องทำอย่างไร?

ต้องตรวจสอบโครงสร้างพื้นเดิมของอาคาร ว่าสามารถรับน้ำหนักได้เพียงพอ
ต้องใช้พื้นยก (Raised Floor) ที่รองรับน้ำหนักอุปกรณ์ได้ดี
ต้องติดตั้งฐานกระจายน้ำหนัก (Shared Load Structure) เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำหนักถูกกระจายอย่างเหมาะสม
ต้องให้วิศวกรออกแบบและตรวจสอบการติดตั้ง ก่อนใช้งาน

เพื่อความปลอดภัยและความคงทนของโครงสร้าง ควรปรับระดับพื้นอาคารให้ได้ระดับก่อนการติดตั้ง shared load การปฏิบัติตามมาตรฐานการออกแบบและการติดตั้งที่ถูกต้องจะช่วยให้การทำงานของโครงสร้างมีความมั่นคงและสามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย หากละเลยขั้นตอนเหล่านี้ อาจทำให้พื้นอาคารรับน้ำหนักไม่ไหวและเกิดความเสียหายได้ในระยะยาว.

การคำนวณแสดงให้เห็นว่าฐานกระจายน้ำหนักสามารถรองรับน้ำหนักตู้ Server ได้โดยไม่เกินค่าที่พื้นอาคารรับได้ ดังนั้นทุกครั้งที่มีการติดตั้ง Server, Data Storage, UPS หรืออุปกรณ์อื่นที่มีน้ำหนักมาก จำเป็นต้องให้วิศวกรโยธาออกแบบและรับรองแบบติดตั้งก่อนเสมอ เพื่อให้โครงสร้างมั่นคงและปลอดภัยในระยะยาว

ทำไมต้องเลือกใช้บริการจาก BSP (2512) สำหรับพื้นยกและโครงสร้างฐานกระจายน้ำหนัก (Shared Load Structure) ?

เชี่ยวชาญเฉพาะทาง – มั่นใจได้ในคุณภาพ

BSP (2512) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน พื้นยก (Raised Floor) และโครงสร้างฐานกระจายน้ำหนัก (Shared Load Structure) สำหรับห้องเซิร์ฟเวอร์ ศูนย์ข้อมูล และพื้นที่ที่ต้องรองรับน้ำหนักอุปกรณ์ไอทีหนักๆ เช่น Server, UPS และระบบทำความเย็น เรามีประสบการณ์และความเข้าใจด้านวิศวกรรมโครงสร้างเป็นอย่างดี

ออกแบบและคำนวณอย่างแม่นยำ โดยทีมวิศวกรมืออาชีพ

เราใช้การคำนวณที่แม่นยำตามมาตรฐานสากล เพื่อให้แน่ใจว่าโครงสร้างสามารถรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย โดยคำนึงถึง

  • น้ำหนักของอุปกรณ์ทุกชิ้นในห้อง
  • การกระจายแรงกดทับอย่างเหมาะสม
  • ความแข็งแรงของพื้นอาคารเดิม

ผลิตภัณฑ์มาตรฐานสูง – ปลอดภัยและทนทาน

พื้นยกของเราผ่านการทดสอบการรับน้ำหนักทั้ง Concentrated Load และ Rolling Load ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม รองรับการใช้งานหนักได้จริง พร้อมโครงสร้าง Bolted Stringer System ที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงแข็งแรง

ติดตั้งโดยทีมงานมืออาชีพ – งานจบไว ไม่เสียเวลาธุรกิจ

ทีมติดตั้งของ BSP (2512) มีความชำนาญในการติดตั้ง พื้นยกและฐานกระจายน้ำหนัก ให้ได้ระดับและรองรับน้ำหนักได้ตามที่คำนวณไว้ ทำให้มั่นใจได้ว่าหลังติดตั้งเสร็จ สามารถใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องปรับปรุงโครงสร้างเพิ่มเติมภายหลัง

มั่นใจได้ ด้วยการตรวจสอบและรับรองโดยวิศวกรโยธา

ทุกโครงการของเราผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียดจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ก่อนส่งมอบงาน เพื่อให้แน่ใจว่าโครงสร้างตรงตามมาตรฐานวิศวกรรมและปลอดภัย 100%

บริการครบวงจร ตั้งแต่ออกแบบ ติดตั้ง ไปจนถึงการบำรุงรักษา

BSP (2512) ให้บริการ ครบวงจร ไม่ใช่แค่ขายสินค้า แต่เราดูแลลูกค้าทุกขั้นตอน ตั้งแต่

  • การออกแบบและคำนวณน้ำหนัก ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของคุณ
  • การเลือกพื้นยกที่เหมาะสม กับประเภทของห้องเซิร์ฟเวอร์
  • การติดตั้งและตรวจสอบความปลอดภัย โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
  • บริการหลังการขาย เพื่อให้พื้นยกของคุณคงทนและใช้งานได้ยาวนาน

เลือก BSP (2512) – มั่นใจได้ว่าห้องเซิร์ฟเวอร์ของคุณปลอดภัย 100%

  • ไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นรับน้ำหนักไม่ไหว
  • ไม่ต้องเสียเวลาหาวิศวกรมาแก้ไขปัญหาภายหลัง
  • ไม่ต้องเสี่ยงกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน

เพราะเรา เชี่ยวชาญเรื่องพื้นยกและฐานกระจายน้ำหนักโดยเฉพาะ ให้ BSP (2512) ดูแลโครงสร้างพื้นของคุณ ให้แข็งแรง ปลอดภัย และได้มาตรฐาน

ติดต่อ BSP (2512) วันนี้!

ให้เราช่วยออกแบบและติดตั้งโครงสร้างพื้นยกที่แข็งแรงที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณ

 

การวาง layout งานพื้นยกและ shared load structure การวางเหล็ก Main งานฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure การวางเหล็ก Sub งานฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure
  • การวาง layout งานพื้นยกและ shared load structure
  • การวางเหล็ก Main งานฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure 
  • การวางเหล็ก Sub งานฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure 
งานฐานกระจายน้ำหนัก Shared Load Structure งานวางผนังเบาบนฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure งานวางงานระบบต่างๆบนฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure
  • งานฐานกระจายน้ำหนัก Shared Load Structure 
  • งานวางผนังเบาบนฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure
  • งานวางงานระบบต่างๆบนฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure
งานเคลือบกันซึมสำหรับฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure งานติดตั้งขาพื้่นยกและคานพื้นยกบนฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure งานติดตั้งแผ่นพื้นยกบนฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure
  • งานเคลือบกันซึมสำหรับฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure
  • งานติดตั้งแผ่นพื้นยกบนฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure 
งานพื้นยก raised floor ที่ติตตั้งบนฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure งานพื้นยกสำเร็จรูปที่ติตตั้งบนฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure งาน access floor ที่ติตตั้งบนฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure
  • งานพื้นยก raised floor ที่ติตตั้งบนฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure
  • งาน access floor ที่ติตตั้งบนฐานกระจายน้ำหนัก shared load structure

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 388,403