1 ระบบพื้นยกแบบ Free Standing with HPL

พื้นยกระดับระบบ Free Standing โดยไม่ต้องยึดแผ่นพื้นยก

ระบบพื้นยก Free Standing: Solution ติดตั้งง่ายสำหรับสำนักงานและห้องคอมพิวเตอร์

 

พื้นยกระบบ Free Standing ได้รับความนิยมอย่างมากในการใช้งานในสำนักงานและห้องคอมพิวเตอร์ โดยจะใช้กับแผ่นพื้นยก raised floor ชนิดป้องกันไฟฟ้าสถิตหรือ steel cement raised floor with anti-static HPL เนื่องจากติดตั้งง่ายและมีความยืดหยุ่น ไม่ต้องพึ่งโครงสร้างคานหรือ stringers หรือสกรูทำให้การติดตั้งรวดเร็ว เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการความสะดวกในการเข้าถึงใต้พื้น เช่น การติดตั้งสายไฟหรือท่อ ระบบนี้รองรับความสูงของพื้นยกตั้งแต่ 50 มม. ถึง 300 มม. อีกทั้งยังสามารถปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของการใช้งานที่แตกต่างกันได้

ระบบพื้นยก Free Standing: โครงสร้างและการทำงาน

ระบบ Free Standing ใช้ขาพื้นยกที่มีหัวทำจากอลูมิเนียม (OA Pedestal) ที่ให้ความแข็งแรงสูงและสามารถรองรับแผ่นพื้นยก raised floor โดยไม่ต้องพึ่งพา stringers ทำให้ติดตั้งและถอดแผ่นพื้นได้ง่าย ระบบนี้ช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ใต้พื้น เหมาะสำหรับห้องคอมพิวเตอร์ สำนักงาน และพื้นที่ที่มีการเดินสายไฟหรือท่อใต้พื้นซึ่งต้องการการบำรุงรักษาหรือปรับเปลี่ยนบ่อยครั้ง

การเลือกแผ่นพื้นยกสำหรับระบบ Free Standing: ความสำคัญของวัสดุ

การเลือกแผ่นพื้นยก access floor ที่เหมาะสมมีความสำคัญอย่างมากในระบบ Free Standing เนื่องจากไม่มี stringers มาช่วยรองรับแผ่นพื้นยก และตัวแผ่นพื้นยกเองก็ไม่ได้มีการยึดสกรูที่มุมแผ่นเหมือนระบบพื้นยก Corner Lock เพราะระบบนี้จะใช้กับแผ่นพื้นยกประเภทผิวหน้า HPL ซึ่งจะปูแผ่น HPL เต็มหน้าแผ่นพื้นยก การใช้วัสดุที่มีความแข็งแรง เช่น FS1000 หรือ calcium sulphate เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้มีความสามารถการรับแรงสั่นสะเทือนและเพิ่มความมั่นคงได้มากกว่า เพราะข้อด้อยของแผ่นพื้นยก steel-cement คือเป็นวัสดุประเภท composite คือเป็นวัสดุที่ถูกสร้างมาจากเหล็กและซีเมนต์ซึ่งจะไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ถ้าวัสดุประเภทนี้ไม่เเข็งแรงเพียงพออาจไม่เหมาะกับระบบนี้ เพราะมีข้อจำกัดในการทนต่อแรงสั่นสะเทือน

แผ่นพื้นยกที่เหมาะสมกับระบบนี้ต้องมีคุณสมบัติที่แข็งแรงเพื่อลดการสั่นสะเทือน แผ่นพื้นยก HPL รุ่น FS1000 ขึ้นไป หรือแผ่นพื้นยก calcium sulphate ที่มีเนื้อวัสดุเป็นแบบ solid เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับระบบ Free Standing เพื่อป้องกันปัญหาการสั่นสะเทือนระหว่างการใช้งาน 

การใช้แผ่นพื้นยกที่เหมาะสมกับระบบโครงสร้างประเภท Free Standing ควรเป็นวัสดุที่มีความหนาแน่นสูงซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะจะมีความสามารถการรับแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากการเคลื่อนที่ในการใช้งานบนแผ่นพื้นยก เมื่อมีการเดินหรือขนของ แผ่น steel-cement ในรุ่น FS800 ลงไป จะมีความสามารถรับแรงเกิดการสั่นสะเทือนมากได้น้อยกว่ามาก เมื่อใช้งานร่วมกับแผ่นพื้นยกที่ต่ำกว่า FS1000 จึงแนะนำให้ใช้ะบบ bolt stringer ที่มีการล็อคแผ่นพื้นยกด้วยคาน (Stringer) เพื่อเพิ่มความมั่นคง

การติดตั้งระบบพื้นยก Free Standing ในสถานที่จริง

ระบบ Free Standing ถูกออกแบบมาให้ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็วในพื้นที่จริง โดยผู้ติดตั้งไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ซับซ้อน การวางแผ่นพื้นยกบนขาพื้นยก OA Pedestal ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาสกรูหรือตัวยึดเพิ่มเติม นอกจากนี้ ความสามารถในการถอดและติดตั้งซ้ำได้ง่ายยังเป็นจุดเด่นสำคัญที่ทำให้ระบบนี้ได้รับความนิยมในโครงการต่าง ๆ ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้น

การเตรียมพื้นที่ก่อนการติดตั้งระบบพื้นยก Free Standing

ขั้นตอนแรกในการติดตั้งพื้นยก raised floor คือการเตรียมพื้นผิวให้เรียบและสะอาด เพื่อให้การวางขาพื้น OA Pedestal เป็นไปอย่างราบรื่น ควรวางแผนการจัดวางขาพื้นให้พอดีกับการวางแผ่นพื้นยก และคำนึงถึงความสูงที่ต้องการสำหรับพื้นที่ใช้งาน

การวางขาพื้นยกและการปรับระดับ

หลังจากการเตรียมพื้นที่เสร็จแล้ว จะเป็นการวางขาพื้นยก OA Pedestal ให้มีระยะห่างเท่ากัน จากนั้นจึงนำแผ่นพื้นยก access floor วางลงไปอย่างสม่ำเสมอ ควรตรวจสอบความมั่นคงและการปรับระดับของแผ่นพื้นยกทุกแผ่นให้ได้ระดับที่ถูกต้องเพื่อลดการสั่นสะเทือนและความเคลื่อนตัวของแผ่น

 

ข้อดีของการใช้แผ่นพื้น Calcium Sulphate กับระบบ Free Standing

การเลือกใช้ แผ่นพื้นยก calcium sulphate กับระบบ Free Standing เป็นตัวเลือกที่แนะนำเนื่องจากแผ่นพื้น raised floor ชนิดนี้มีความแข็งแรงและสามารถรองรับการใช้งานหนักได้ดี เนื่องจากเป็นวัสดุ solid ซึ่งทำจากเนื้อวัสดุเดียวกันทั้งแผ่น ซึ่งมีคุณสมบัติการรับแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินหรือขนย้ายของในพื้นที่ได้ดี

คุณสมบัติของแผ่นพื้นยก Calcium Sulphate ในการรับแรงสั่นสะเทือน

แผ่นพื้นยก calcium sulphate มีความสามารถในการทนต่อแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากการเดินหรือการขนย้ายได้อย่างดีเยี่ยม เนื่องจากโครงสร้างที่เป็น solid ช่วยให้แผ่นพื้นยกมีความสามารถการรับสั่นสะเทือนสูงซึ่งจะไม่มีปัญหาการยุบตัวเมื่อใช้งานในระยะยาว อีกทั้งยังเหมาะสมกับพื้นที่ที่ต้องการความมั่นคงสูง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์, office หรือสำนักงาน, หรือพื้นที่ที่มีการสัญจรมากและมีการรับน้ำหนักสูง

แผ่นพื้นยกประเภท Solid Material กับระบบพื้นยก Free Standing ในการใช้งานจริง
  1. การใช้แผ่นพื้นยกที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการปัญหากับการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีการใช้งานบ่อย ๆ เช่น การเดินหรือการขนย้ายของ อาจทำให้แผ่นพื้นยุบตัว การใช้แผ่นพื้นยก steel-cement รุ่นที่ต่ำกว่า FS1000 ในระบบ Free Standing จะมีข้อด้อยเรื่องการรับแรงที่เกิดจากสั่นสะเทือนสูง ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่เนื่องจากยุบของแผ่นพื้นยก จะส่งผลให้มุมแผ่นพื้นยกขยับตลอดเวลาและจะเกิดการแอ่นตัวขึ้นหรือเชิดขึ้น และทำให้เกิดปัญหาบริเวณกลางแผ่นพื้นยกยวบหรือเกิดการยุบตัวลง ส่งผลให้ระดับของแผ่นพื้นยกเปลี่ยนแปลง, แนวของพื้นยกก็จะเคลื่อนที่ซจะทำให้เกิดความไม่เป็นระเบียบของแผ่นพื้นยกขณะเวลาใช้งาน เช่น เดินหรือขนย้ายวัสดุ จะมีเสียงเกิดขึ้น ที่สำคัญคือประสิทธิภาพการรับน้ำหนักของแผ่นพื้นยกจะลดลง
  2. การใช้แผ่นพื้นยกประเภท solid material อย่าง calcium sulphate กับระบบพื้นยก Free Standing ทำให้ระบบมีความทนทานต่อการใช้งานที่หนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ต้องการความแข็งแรงและความมั่นคงสูง เช่น ห้องเซิร์ฟเวอร์ พื้นที่เหล่านี้มีการเคลื่อนที่และการสั่นสะเทือนจากการเดินหรือการขนย้ายอุปกรณ์ตลอดเวลา ซึ่งแผ่นพื้นยก access floor ประเภท solid material จะช่วยลดปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เคล็ดลับในการติดตั้งและดูแลระบบพื้นยก Free Standing

การติดตั้งและบำรุงรักษาระบบพื้นยก Free Standing นอกจากจะต้องคำนึงถึงการเลือกวัสดุแผ่น raised floor ที่เหมาะสมแล้ว ยังต้องมีการตรวจสอบแลดูแลรักษาพื้นยกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยาวนาน

เคล็ดลับและคำแนะนำการติดตั้งพื้นยกระบบ Free Standing ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  1. ควรใช้แผ่นพื้น raised floor ที่มีความแข็งแรงเพื่อลดปัญหาการรับแรงสั่นสะเทือน โดยแนะนำให้เลือกใช้แผ่นพื้นยก รุ่น FS1000 ขึ้นไปหรือแผ่น calcium sulphate
  2. การวางขาพื้นยก OA Pedestal ให้ตรงกับการจัดวางแผ่นพื้น access floor ทุกแผ่นจะช่วยป้องกันการยุบตัวของพื้น access floor และเพิ่มความมั่นคงในระยะยาว
  3. สำหรับพื้นที่ที่ต้องการความมั่นคงและลดปัญหาที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือน เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่หรือสำนักงานที่มีการขนย้ายของเป็นประจำ ควรพิจารณาใช้ระบบพื้นยก raised floor ที่มีการล็อคแผ่นพื้นยกเพิ่มเติม เช่น ระบบพื้นยกแบบ bolt stringer ซึ่งจะช่วยยึดแผ่นพื้นยกให้มั่นคงมากขึ้น ป้องกันการเคลื่อนที่ของมุมแผ่นเมื่อมีการใช้งานหนัก

 

คุณสมบัติหลักของระบบ Free Standing:
  • เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความยืดหยุ่นในการเข้าถึงใต้พื้นยก เช่น สำนักงานหรือห้องคอมพิวเตอร์
  • ถอดแผ่นพื้นยกได้ง่าย หัวขาพื้นยกทำจากอะลูมิเนียมซึ่งเป็นลักษณะหัวแฉกคล้ายรูปกากบาท ซึ่งทำให้มีเหลี่ยมล็อคแผ่นพื้นยกได้อย่างแม่นยำ
  • ความสูงของพื้นยกระดับรองรับตั้งแต่ 50 มม. ถึง 300 มม. เหมาะกับงานสำนักงานทั่วไป
  • ควรใช้แผ่นพื้นยกที่แข็งแรง เช่น แผ่นพื้น raised floor FS1000 หรือแผ่นพื้นยก calcium sulphate

 

การบำรุงรักษาระบบพื้นยก Free Standing ให้คงทน

การตรวจสอบขาพื้นยกและแผ่นพื้นยกเป็นระยะ ๆ ช่วยป้องกันการสึกหรอหรือการขยับตัวของแผ่นพื้น raised floor ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการเดินหรือขนย้ายของบ่อย ๆ การดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ระบบพื้นยกใช้งานได้ยาวนานและมีประสิทธิภาพสูง

 

มาตรฐานที่รองรับ

ระบบพื้นยกระดับสำเร็จรูปนี้ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลที่สำคัญ ดังนี้:

  1. CIACA Standard (USA) – มาตรฐานจากสหรัฐอเมริกาที่รับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์พื้นยกระดับ
  2. MOB Standard (UK) – มาตรฐานจากสหราชอาณาจักรที่ทดสอบและรับรองความแข็งแรงและความทนทานของระบบพื้นยกระดับ
  3. ASTM Standard (USA) – มาตรฐานจากสมาคมทดสอบและวัสดุแห่งสหรัฐอเมริกา
  4. SJ/T10796 Standard (China) – มาตรฐานจากประเทศจีนที่ใช้ในการทดสอบคุณภาพของพื้นยกระดับ

 

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานพื้นยก raised floor:

 

พื้นยกระบบ Free Standing ติดตั้งง่าย เหมาะกับสำนักงานขนาดเล็ก แผ่นพื้นยก steel-cement สำหรับการใช้งานระบบพื้นยก Free Standing
OA Pedestal อะลูมิเนียมแข็งแรงรองรับพื้นยกระดับ Free Standing พื้นยกระบบ Free Standing ช่วยในการเดินสายไฟในห้องคอมพิวเตอร์
Calcium Sulphate Panel System Calcium Sulphate Raised Floor with Free Standing System

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 388,182